วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การจัดการความรู้ทางการศึกษา


        ความรู้ (Knowledge)  คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน  จากประสบการณ์ในชีวิตจริง  การที่เราได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  รวมไปถึงสิ่งที่เราได้รับจากการฟัง  การได้ยิน  การคิด  สิ่งที่ได้จากสื่อหรือวิธีการต่างๆนี้  ก็จะสะสมอยู่ในสมองเรา  และเมื่อเรามีความรู้เราก็ต้องมีวิธีที่จะจัดการกับความรู้เหล่านั้น

        การจัดการความรู้   (Knowledge  Management) เป็นการนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาจัดเก็บให้เป็นระบบ  และยังสามารถนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้  และนำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

        ความเป็นมาของการจัดการความรู้
              Ikujiro  Nonaka เป็นผู้บุกเบิกให้การจัดการความรู้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ โดยการสร้างแบบจำลอง SECI  Model ขึ้นมา

 (Ikujiro  Nonaka)
https://www.gotoknow.org/posts/486214
            
        ประเภทของความรู้  
                 คุณลักษณะของบุคคลนั้นเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ  โดยมีส่วนหนึ่งที่ลอยอยู่เหนือน้ำซึ่งเป็นส่วนที่น้อยแต่สามารถมองเห็นและวัดได้ง่าย และมีอีกส่วนหนึ่งที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นส่วนที่มีปริมาณมากกว่า  แต่ไม่สามารถมองเห็นหรือวัดได้อย่างชัดเจน
  
       Explicit  Knowledge  เป็นความรู้ที่มองเห็นได้ชัดเจนหรือเป็นนานมธรรม  ที่เราได้จากที่ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน  การค้นคว้าด้วยตนเอง  ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสาร  หนังสือคู่มือ  อ้างอิง  หรือสื่อต่างๆ
     
      Tacit  Knowledge เป็นความรู้ที่มองเห็นได้ไม่ชัดเจน  เป็นความรู้ซึ่งเกิดจากการปลูกฝัง การฝึกฝน การใช้ปฏิภาณไหวพริบ การปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ เป็นประสบการณ์หรือความสามารถส่วนบุคคล ซึ่งบางครั้งไม่สามารถสอนหรือถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ได้อย่างเต็มที่ 

http://www.slideshare.net/guanteen99/kmpongsak1-presentation




            การเปลี่ยนแปลงสถานะของความรู้  SECI  MODEL

(SECI  Model)
https://www.l3nr.org/posts/543739

                     Socialization การแบ่งปันและสร้างความรู้  Tacit know ไปสู่ Tacit knowledge
                     Externalization เป็นการสร้างและแบ่งปัน และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
                     Combination   เป็นการแบ่งปัน เก็บรวบรวมความรู้ใหม่ๆ
                     Internalization การนำความรู้ที่ได้ไปสู่ปฏิบิติจริง และการเผยแพร่ให้ผู้อื่นรับรู้


           ระดับของความรู้


                    Know-what  เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง ก็คือ รู้อะไร รู้ว่ามันคืออะไร
                    Know-how   ความรู้ที่เชื่อมโยงกับความเป็นจริง ที่เราต้องรู้ว่าควรทำอย่างไรถึงจะได้ความรู้นั้นมา แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
                    Know-why   เป็นความรู้เชิงเหตุผล ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวเองให้ผู้อื่นได้และยังรับเอาความรู้ของผู้อื่นมาปรับใช้กับตนเองได้
                    Caer-why    เป็นการนำความรู้ที่เรามีและความรู้ที่เราได้รับ  มาสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ


อ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น